งานวิจัยที่โดดเด่น ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี

ด้านผึ้งและต้นผึ้ง

ด้านผึ้งและต้นผึ้ง ที่ดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร (Native Honeybee and Pollinator Research Center: NHBEE) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานวิจัย 4 ส่วน คือ

  • ส่วนที่ 1 ศึกษาพฤติกรรมผึ้ง ความหลากหลายของผึ้ง และปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผึ้งทางด้านเกษตรและการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศ (climate change)
  • ส่วนที่ 2 สร้างเครื่องมือที่มีชื่อว่า รังผึ้งฉลาด (smart hives) เพื่อศึกษาภาษาของผึ้งผ่านแอปพลิเคชัน bee connex โดยทำร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.
  • ส่วนที่ 3 ใช้ประโยชน์จากผึ้งเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
  • ส่วนที่ 4 สร้างน้ำผึ้งมูลค่าสูงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ จำหน่ายผ่านบริษัท beesanc ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับผลผลิตน้ำผึ้งของเกษตรกรที่ผ่านการอบรมจากทั่วประเทศไทย[7]

ด้านวัสดุทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม

ด้านวัสดุทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการภายใต้หน่วยวิจัยห้องปฏิบัติการนวัตกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมและวัสดุก่อสร้างอัจฉริยะ (Innovative Environmental Management and Smart Construction Materials: IEMLAB) ที่มีเป้าหมายเพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนำของเหลือทิ้ง และของเสียจากภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ในรูปของวัสดุที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากของเสียภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม[8]

ด้านวัสดุและการทดสอบโดยไม่ทำลาย

ด้านวัสดุและการทดสอบโดยไม่ทำลาย ที่ดำเนินการตามความเชี่ยวชาญของบุคลากร มจธ.(ราชบุรี) และตอบสนองความต้องการด้านอุตสาหกรรม ภายใต้หน่วยวิจัยวัสดุและการทดสอบโดยไม่ทำลาย (Materials and Nondestructive Testing Laboratory: MNDT)[9]

ด้านเกษตรแม่นยำ

ด้านเกษตรแม่นยำ ที่ดำเนินการภายใต้ศูนย์วิจัยการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร (Center for Translational Agriculture Research: CTAR) ที่มีเป้าหมายเพื่อ

  1. ผลิตผลงานวิจัยและเผยแพร่ผลงานคุณภาพสูงในระดับนานาชาติ เกี่ยวกับปัจจัยการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้ปุ๋ยและน้ำของมันสำปะหลัง

เพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งในระดับสรีรวิทยาและระดับสนาม

  1. ยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
  2. เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากงานวิจัยทางด้านการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. สร้างเครือข่ายวิจัย(Research Consortium) ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยกับชุมชน (KMUTT & Community Linkages Programs) เพื่อนำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศ[10]

ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับเห็ด ผักกาด ขิง สับปะรด ว่างห่างจระเข้ และส่วนเหลือทิ้งทางการเกษตร[11]

วัสดุคาร์บอน ผลิตจากวัตถุดิบชีวมวล

พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยนั้น เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก การเพาะปลูกทำให้เกิดวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร อย่างเช่น กะลามะพร้าว เหง้ามันสำปะหลัง ซังข้าวโพด เปลือกสับปะรด เปลือกทุเรียน เป็นต้น วัตถุดิบชีวมวลเหล่านี้บ้างถูกนำไปใช้ประโยชน์ บ้างถูกเผาทิ้งในพื้นที่การเกษตร เนื่องจากเกษตรกรบางกลุ่มอาจไม่ทราบวิธีการจัดการที่ถูกต้อง[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี https://www.kmutt.ac.th/about-kmutt/campus/kmutt-r... https://ratchaburi.kmutt.ac.th/ https://ratchaburi.kmutt.ac.th/history/ https://ratchaburi.kmutt.ac.th/history-2/?fbclid=I... https://ratchaburi.kmutt.ac.th/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%... https://ratchaburi.kmutt.ac.th/%E0%B8%94%E0%B9%89%... https://ratchaburi.kmutt.ac.th/%E0%B8%94%E0%B9%89%... https://ratchaburi.kmutt.ac.th/%E0%B8%94%E0%B9%89%... https://ratchaburi.kmutt.ac.th/%E0%B8%94%E0%B9%89%... https://ratchaburi.kmutt.ac.th/%E0%B8%94%E0%B9%89%...